เวอร์เนียลคาลิเปอร์ (Venier Caliper) เป็นเครื่องมือวัดความแม่นยำสูงและใช้ในการกำหนดความหนาของวัสดุที่บางและเล็กเช่นตลับลูกปืน ใช้ในการวัดความยาว, รัศมีภายนอก, รัศมีภายใน, และความหนาของวัตถุได้อย่างแม่นยำ
เครื่องมือวัด เวอร์เนียร์ คาลิเปอร์มีส่วนประกอบหลักๆ ดังนี้:
1. ปากวัดใน (Internal Jaws) ใช้ในการวัดขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางด้านในของวัตถุ โดยด้านแบนจะหันออกด้านนอกให้ประกบกับวัตถุ ให้สามารถใช้วัดภายในได้ง่าย
2. ปากวัดนอก (External Jaws) ใช้ในการวัดขนาดของวัตถุจากภายนอก เหมาะกับการใช้วัดเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอก ความยาว หรือความหนาของวัตถุ โดยเลื่อนด้านที่แบนให้ประกบพอดีกับวัตถุที่ต้องการ
3. สกรูยึดตำแหน่ง (Locking Screw) ในขณะที่ทำการวัด จะมีการเลื่อนปากวัด ให้มีขนาดพอดีกับวัตถุที่ต้องการ เมื่อได้ระยะที่ต้องการแล้ว ใช้สกรูล็อค เพื่อทำการล็อคปากวัดเอาไว้ไม่ให้ไหลไปจากสเกลที่วัดไว้
4. สเกลหลัก (Main Scale) สเกลหลัก จะแสดงค่าที่เป็นหน่วยระบบอิมพีเรียล (นิ้ว) ที่อยู่ด้านบน และแบบเมตริก (มิลลิเมตร) ที่อยู่ด้านล่าง ซึ่งแต่ละขีดบนระบบเมตริกจะมีค่าเป็นมิลลิเมตร
5. สเกลเลื่อน (Vernier Scale) คือ สเกลเวอร์เนีย เป็นค่าที่บอกเป็นหลักทศนิยม โดยแต่ละขีดมีค่า 0.01 มิลลิเมตร โดยจะทำการอ่านค่านี้ หลังจากอ่านค่าบนสเกลหลักแล้วนำมาคำนวณ
6. ที่วางนิ้วโป้ง (Thumb Screw) คือ ปุ่มเลื่อนสเกล ช่วยให้การเลื่อนวัดขนาดง่ายขึ้น โดยปรับให้ปากวัดมีขนาดที่พอดีกับขนาดวัตถุที่ต้องการ
7. ก้านวัดลึก (Depth Measuring Blade) ใช้ในการวัดความลึกของรูในวัตถุ เพื่อหาค่าความลึกของวัตถุ หรือส่วนที่อยู่ลึกบนวัตถุได้ โดยวิธีการการอ่านค่าใช้วิธีเดียวกับปากวัดภายนอก และปากวัดภายใน
เวอร์เนียคาลิปเปอร์ วัดอะไรได้บ้าง?
การอ่านค่าต่างๆ อ่านอย่างไร?
อ่านค่าผลการวัดที่สเกลหลัก (Main scale)
โดยสังเกตที่ตำแหน่งขีดศูนย์ด้านล่าง “0” ของสเกลเวอร์เนียร์ (Vernier scale) ตรงกับช่วงไหนของขีดสเกลหลักทางด้านบน จากรูปจะเห็นได้ว่าขีดสเกลที่ศูนย์ด้านล่างจะตรงกับขีดสเกลหลักทางด้านบนในช่วงขีดที่ 10 mm ถึง 11 mm ดังนั้นเราจะอ่านค่าที่สเกลหลักได้ 10.00 mm
อ่านค่าผลการวัดที่สเกลเวอร์เนียร์ (Vernier scale)
เริ่มจากดูว่าสเกลการวัดของเวอร์เนียร์ตัวนี้เป็นเท่าไหร่ ในกรณีนี้เป็น 0.05 mm แล้วจึงดูว่าตำแหน่งขีดสเกลด้านล่างของสเกลเวอร์เนียร์ทั้งหมดว่ามีขีดสเกลใดที่ตรงกับขีดสเกลหลักทางด้านบนมากที่สุด จากรูปจะเห็นได้ว่าขีดสเกลด้านล่างของสเกลเวอร์เนียร์ขีดที่ 9 ตรงกับขีดสเกลหลักทางด้านบนมากที่สุด
ดังนั้นเราจะอ่านค่าที่สเกลเวอร์เนียร์ได้ โดยการนำค่าความละเอียดของเครื่องมือคูณเส้นขีดสเกลด้านล่างของสเกลเวอร์เนียร์ที่อ่านได้คือ สเกลขีดที่ 9 x ความละเอียด 0.05 mm เท่ากับ 0.45 mm
นำผลการวัดที่อ่านได้จากสเกลหลักบวกผลการวัดที่อ่านได้จากสเกลเวอร์เนียร์คือ 10.00 mm + 0.45 mm เท่ากับ 10.45 mm
สำหรับตลับลูกปืน จะต้องอ่านค่าอะไรบ้าง?
ในการหาซื้อตลับลูกปืน ทดแทนตัวเดิม เบื้องต้นทาง พี แอนด์ เอส แบริ่งส์แนะนำให้ผู้ใช้วัดขนาด วงใน วงนอก และความหนา และแจ้งให้ทางผู้ขายทราบ เพื่อเป็นการยืนยันเบอร์ตลับลูกปืนที่คุณต้องการและป้องกันการอ่านรุ่นของตลับลูกปืนผิด
ข้อควรระวังในการวัดค่าและการเก็บรักษา เวอร์เนียคาลิปเปอร์
1. ก่อนทำการวัดค่า ต้องตรวจสอบว่า “จุดอ้างอิงของเวอร์เนียคาลิปเปอร์ตรงกันหรือไม่” แล้วตรวจสอบความแม่นยำของค่า 0
2. ตำแหน่งที่ทำการหนีบวัตถุที่ต้องการวัดค่า(บริเวณปากวัดนอกหรือปากวัดในของเวอร์เนียคาลิปเปอร์)ควรเลือกตำแหน่งที่ใกล้กับสเกลหลักที่สุด(เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการวัดตาม “หลักการของ Abbe”)
3. ผิวหน้าของส่วนที่ใช้วัดค่าของเวอร์เนียคาลิปเปอร์(ปากวัดนอก ปากวัดใน ก้านวัดความลึก)ต้องสัมผัสกับวัตถุที่ต้องการวัดค่าอย่างถูกวิธี
4.พยายามใช้แรงในการวัดค่าให้คงที่ ไม่แรงเกินไปหรือเบาเกินไป
5.อ่านค่าสเกลในทิศทางตั้งฉากกับสเกล
6..หลังใช้งานควรเช็ดให้สะอาด เก็บรักษาในพื้นที่ที่ความชื้นและอุณหภูมิคงที่ ระวังอย่าให้เสียหาย
7. ควรมีการสอบเทียบเครื่องมือวัดอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งเพื่อเป็นหลักประกันในการควบคุณภาพของเครื่องมือวัด